แอลกอฮอล์กับยา ทำปฏิกิริยากันอย่างไร ?
ปฏิกิริยาระหว่างแอลกอฮอล์กับยานั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักดังนี้
ปฏิกิริยานี้หมายถึง ปฏิกิริยาที่ทำให้ผลข้างเคียงของยาเพิ่มมากขึ้น เช่น หากยาตัวหนึ่งมีผลข้างเคียงคือทำให้ง่วงนอน แล้วคุณดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป ผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วงนอนของยานั้นก็จะเพิ่มมากขึ้น และทำให้คุณง่วงนอนหนักกว่าเดิม ปฏิกิริยานี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อคุณดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน เช่น ยาแก้แพ้
การเพิ่มขึ้นของผลข้างเคียง อย่างอาการง่วงนอนนี้ จะทำให้ผู้ใช้ยามีปัญหากับการมีสติสัมปชัญญะ การรวบรวมสมาธิ การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการขับรถหรือใช้เครื่องจักร และทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ปฏิกิริยานี้หมายถึง ปฏิกิริยาที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการดูดซึมยา หรือกระบวนการกำจัดยาออกจากร่างกายเปลี่ยนแปลงไป เช่น ทำให้ดูดซึมยามากขึ้นกว่าปกติ และทำให้ฤทธิ์ของยาแรงขึ้น หรือทำให้การกำจัดยาออกจากร่างกายได้เร็วกว่าที่ควร ทำให้ยาไม่สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่
แอลกอฮอล์นั้นจะถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์ต่างๆ ที่อยู่ในตับ ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้ก็เป็นเอนไซม์เดียวกันกับเอนไซม์ที่ใช้ย่อยสลายยาหลายๆ ประเภทด้วยเช่นกัน ดังนั้น การดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปพร้อมกับการรับประทานยา จะทำให้เอนไซม์ตับเหล่านี้ต้องทำงานอย่างหนักมากขึ้นเพื่อย่อยสลายทั้งยาและแอลกอฮอล์พร้อมกับ ปฏิกิริยาระหว่างแอลกอฮอล์กับยาเหล่านี้สามารถทำให้ยาบางชนิดทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ หรือทำให้ยาบางชนิดเกิดการสะสมค้างอยู่ในร่างกาย จนกลายเป็นพิษได้
ยาอะไรบ้างที่อาจจะทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ ?
สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (The National Institute of Health) ได้ทำการวิจัยกับคนกว่า 26,000 คน เพื่อหาปฏิกิริยาระหว่างแอลกอฮอล์กับยา พบว่า ในบรรดายากว่า 1,300 ชนิด มียามากกว่า 45% ที่มีโอกาสที่จะทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์
โดยยาที่มักจะทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์มีดังนี้
นอกจากนี้ยังมียาอีกมากกว่า 100 ชนิดที่สามารถทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ได้ และยาแต่ละชนิดก็อาจจะมีปฏิกิริยาต่อแอลกอฮอล์แตกต่างกันไป ดังนั้นทางที่ดีคุณจึงควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาของแอลกอฮอล์กับยาที่อาจเป็นอันตราย