โดยข้อความดังกล่าว เป็นการเขียนสัญญาพื้นฐานของการทำสัญญาทุกประเภทรวมทั้งแอปพลิเคชั่น “ชิมช้อปใช้” ซึ่งเปิดให้ประชาชนสมัครเข้าร่วมโครงการ แต่การร่วมโครงการดังกล่าวเป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นโครงการของรัฐส่งเสริมสังคมไร้เงินสด เพื่อใช้จ่ายเงินกระจายออกไปทั่วประเทศ
ดังนั้น จึงไม่เข้าข่ายการหักเงินจากแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง จากประชาชนสำหรับผู้เป็นลูกหนี้เดิม ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล ลูกหนี้กองทุน กยศ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และซีอีโอ ITAX
สอดคล้องกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และซีอีโอ ITAX ที่มองว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อตกลงมาตรฐานที่ใช้กับแอปพลิเคชั่นกรุงไทย NEXT ซึ่งการหักเงินจากบัญชีเงินฝากของธนาคาร หากมองในแง่กฎหมาย คือ จะหักเงินเฉพาะค่าบริการที่มีค่าธรรมเนียม เช่น ค่า SMS หรือโอนทางไกล เป็นต้น ซึ่งในส่วนของโครงการชิมช้อปใช้มองว่าไม่น่ากังวล เพราะน่าจะเป็นบริการที่ไม่มีค่าธรรมเนียมจึงไม่มีการหักเงินแต่อย่างใด ส่วนประเด็นเงินกู้ และหนี้จากบัตรเครดิตนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา มองว่าไม่น่าเกี่ยวกับการหักค่าธรรมเนียมดังกล่าวซึ่งเป็นคนละกรณี
สำหรับประเด็นที่ในโลกโซเชี่ยลกำลังถกเถียงเรื่องที่รัฐบาลจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้สิทธิ์ 1,000 บาทไปเรียกนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ระบุว่า ในความเป็นจริงแล้วเลขบัตรประชาชน 13 หลักภาครัฐเป็นผู้ออกให้ ดังนั้น จึงมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงยังมีหน้าที่เรียกตรวจสอบได้อยู่แล้ว โดยกรมสรรพากรสามารถทำเรื่องให้ธนาคารพาณิชย์ส่งข้อมูลมาเพื่อเรียกตรวจสอบทรัพย์สิน หนี้สิน รวมถึงภาษีที่ค้างจ่ายได้อยู่แล้วเป็นปกติ