วิธีลดอาการโรค “กรดไหลย้อน”
แบ่งมื้ออาหารย่อย ๆ
การรับประทานอาหารปริมาณมาก ๆ ในครั้งเดียว อาจทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนกำเริบขึ้นได้ คุณอาจไม่สามารถรับประทานอาหาร 1 มื้อได้เท่าเดิม เช่น จากที่เคยกินข้าว 3 ทัพพีต่อมื้อ อาจทำไม่ได้อีกต่อไป จะเริ่มรู้สึกอึดอัดท้อง แน่นคอ อาหารไม่ย่อย ดังนั้นควรแบ่งอาหารออกมารับประทานในแต่ละครั้งให้น้อยลง อาจแบ่งจาก 3 มื้อ เป็น 5-6 มื้อได้
หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท
อาหารบางประเภทอาจทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนกำเริบได้ ได้แก่
อย่าดื่มน้ำอัดลม
น้ำอัดลมอาจทำให้คุณเรอ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมากขึ้น และยังส่งน้ำย่อยที่เป็นกรดไปที่หลอดอาหารมากขึ้นด้วย ดังนั้นควรดื่มน้ำเปล่าธรรมดา ๆ ไปก่อนจะดีกว่า
นั่ง/ยืนตรง ๆ หลังกินอาหารเสร็จ
การนั่ง หรือยืนหลังตรงหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ จะช่วยให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารอยู่ในส่วนที่มันควรจะเป็น ไม่ไหลย้อนขึ้นมาที่กลางอกให้เรารู้สึกแสบ และควรรับประทานอาหารให้เสร็จก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมงด้วย (รวมถึงการห้ามเอนตัวลงนอนเพื่องีบหลังอาหารกลางวันด้วย)
อย่าเคลื่อนไหวร่างกายเร็วเกินไป
ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ หลังรับประทานอาหารภายใน 2-3 ชั่วโมง สามารถลุกขึ้นเดินเล่นเบา ๆ หลังมื้ออาหารได้ แต่ไม่ควรออกท่าออกทางออกกำลังกายมากเกินไป โดยเฉพาะการวิ่งหนัก ๆ การก้ม ๆ เงย ๆ เต้นแอโรบิก หรือทำกาบบริหารต่าง ๆ หลังกินข้าวใหม่ ๆ เป็นต้น
นอนหลังพิงหัวเตียง
หากใครที่มีอาการมาก ๆ ไม่สามารถเอนตัวนอนลงบนพื้นราบได้ เพราะกรดอาจจะไหลย้อยมาที่กลางอกในตอนกลางคืน ก็ควรนอนหลับในท่าหลังพิงหัวเตียง ให้หัวสูงกว่าเท้า 6-8 นิ้ว อย่าลืมเอาหมอนหนุนสะโพก หลังไปจนถึงคอให้นอนได้สบายด้วย ควรเลือกหมอนทรงสามเหลี่ยมที่ช่วยหนุนหลังดีกว่าการเอาหมอนมาวางทับ ๆ กันแล้วนอน เพราะจะไม่ได้มุมที่นอนแล้วสบายกับหลัง
โดยส่วนใหญ่แล้ว กรดไหลย้อย มาเกิดขึ้นกับคนที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หากรู้ตัวว่าตัวเองมีน้ำหนักมากเกินไป การลดน้ำหนักก็จะช่วยให้อาการของกรดไหลย้อนดีขึ้นได้ ทั้งนี้หากไม่แน่ใจว่าตัวเองควรลดน้ำหนักหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์ที่รักษาโรคกรดไหลย้อนประจำตัวดูก่อนได้
งดสูบบุหรี่
หากเป็นสิงห์นักสูบอยู่แล้ว ควรเลิกสูบบุหรี่ถาวร เพราะสารนิโคตินในบุหรี่อาจทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารหย่อนคล้อยลง น้ำย่อยที่เป็นกรดจึงอาจไหลย้อนไปที่อื่นในร่างกาย เช่น หลอดอาหาร คอ ปาก ได้ง่ายมากขึ้น
เช็กยาที่ใช้อยู่
ยาสำหรับวัยทอง ยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก และยาแก้ปวด แก้อับเสบบางชนิด อาจทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารหย่อนคล้อยลงได้เช่นกัน ดังนั้นอาจลองปรึกษาแพทย์ที่รักษาโรคอื่น ๆ อยู่ดูว่าสามารถปรับเปลี่ยนยาได้หรือไม่
หากลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม และวิธีรักษาที่เหมาะสมต่อไป