เริ่มทำความรู้จัก โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ในกระแสเลือดมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ อันเนื่องมาจากการ ขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือประสิทธิภาพในการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินลดลง เป็นเหตุให้น้ำระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ได้ง่าย อาทิ ตา ไต รวมไปถึงระบบประสาท ส่วนใหญ่อาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ร่างกายจะทำปฏิกิริยาเปลี่ยนอาหารให้เป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน การเจาะเลือดเซลล์ในตับอ่อนที่มีชื่อว่า เบต้าเซลล์ จะเป็นตัวสร้างอินซูลิน โดยที่อินซูลินจะเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน
ความสำคัญของ อินซูลิน ต่อร่างกาย
อย่างที่บอกไปในตอนแรกที่เริ่มทำความรู้จักกับ โรคเบาหวาน ว่า อินซูลิน นั้นเป็นฮอร์โมนตัวหนึ่งที่สำคัญภายในร่างกาย สร้างและหลั่งออกมาจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน มีหน้าที่พาน้ำตากลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญและเป็นพลังงานที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต หากร่างกายขาดอินซูลิน หรืออินซูลินนั้นออกฤทธิ์ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ร่างกายก็จะใช้การไม่ได้ เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งนอกจากจะมีความผิดปกติในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตแล้ว ก็ยังมีความผิดปกติในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น มีการสลายตัวของสารไขมันและโปรตีนร่วม
โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร
โดยปกติแล้ว การเกิดโรคเบาหวานนั้นจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากตับ คือ ฮอร์โมนอินซูลินโดยที่ฮอร์โมนตัวนี้จะเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสจากเลือดเข้าไปสู่เซลล์ต่างๆ ภายในอวัยวะทั่วร่างกาย อาทิ สมอง , ตับ , ไต , หัวใจ เพื่อให้เซลล์นั้นนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานในการทำงาน แต่หากกระบวนการสร้างฮอร์โมนอินซูลินเกิดมีความผิดปกติ ตับสร้างอินซูลินได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือเกิดความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้ได้ ถึงแม้ว่าตับจะสร้างฮอร์โมนได้ในระดับปกติ หรือที่เรียกกันว่า เซลล์ดื้อต่ออินซูลิน เมื่อความผิดปกติทั้ง 2 อย่างเกิดขึ้น ก็จะทำให้น้ำตาลคั่งในเลือดในจำนวนที่มาก ทำให้ความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นลุกลามจนกลายเป็น โรคเบาหวาน ในที่สุด
ทั้งนี้ ถึงแม้เราจะรู้ว่าโรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดความผิดปกติของกระบวนการใดในร่างกาย แต่สาเหตุของการเกิดก็ยังไม่ถูกระบุแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่ามันเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนที่เกิดจากทั้งพันธุกรรมและการดำเนินชีวิตของคนเรา (Lifestyle) ประกอบกัน
โรคเบาหวาน มีอาการอย่างไร ?
อาการหลักๆ ที่สื่อว่าคนๆ นั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน อาจได้แก่ รู้สึกหิวบ่อย , กระหายน้ำ , ปัสสาวะมีปริมาณมากและบ่อย อีกทั้งก็ยังมีอาการอื่นๆ ประกอบ อาทิ
10 สัญญาณอันตราย โรคเบาหวาน
ใครที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ?
โรคเบาหวาน นั้นเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ ฉะนั้นผู้ที่มีญาตสายตรง อย่าง พ่อ แม่ พี่ น้อง ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากมีทั้งพ่อและแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน รุ่นลูกก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นถึงร้อยละ 50
นอกจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้ว ยังมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานได้ อาทิ ผู้ที่มีน้ำเกิน หรือเรียกว่า อ้วน , ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย , มีไขมันในเลือดสูง โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเป็นได้เท่าๆ กัน
ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานนั้นมีอยู่หลายข้อ ส่วนหนึ่งก็มาจากเรื่องของพันธุกรรมที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น จนมาถึงเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันที่เรานั้นอาจไม่ทันได้ให้ความสำคัญ หรือหลงลืมไป มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง
โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานนั้นถือได้ว่าเป็นโรคเรื้อรังที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแข็ง หรือตีบ ซึ่งหากหลอดเลือดในอวัยวะส่วนใดของร่างกายแข็ง หรือตีบ ก็จะทำให้เกิดโรคที่อวัยวะนั้นๆ ดังจะเห็นได้ว่า โรคเบาหวาน เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ทุกระบบ อันได้แก่ ระบบประสาท , ตา , ไต , ไต , หัวใจและหลอดเลือด , ผิวหนัง และช่องปาก เป็นต้น
อาการของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
หากกล่าวถึงโดยภาพรวมอาการของผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานนั้นจะปัสสาวะบ่อย มีน้ำหนักที่ลดลง หิวบ่อย บางครั้งก็มีอาการอ่นเพลีย อันเนื่องมาจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูง คราวนี้ เราลองมาดูกันลึกลงไปอีกนิดว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะมีอาการใดแสดงให้เห็นเพิ่มเติมได้อีกบ้าง
ในคนทั่วไปที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานก่อนที่จะรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือดเพียง 70 - 110 มก.% โดยหลังจากที่รับประทานอาหารเช้าเข้าไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็จะมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 140 มก.% ซึ่งที่มีระดับน้ำตาลไม่มากก็อาจจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา สำหรับการวินิจฉัยโรคเบาหวานนั้นทำได้ด้วยการเจาะเลือด มีอาการที่พบได้บ่อยดังนี้
เมื่อระดับน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดสูงและเป็นโรคเบาหวานได้ระยะหนึ่ง ก็อาจเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นกับหลอดเลือดเล็ก เรียกว่า Microvacular ซึ่งหากมีโรคแทรกซ้อนนี้เกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดโรคไต , เบาหวานเข้าตา นอกจากนั้น หากหลอดเลือดแดงใหญ่เกิดการแข็งตัว จะเรียกว่า Macrovascular ที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ , เป็นอัมพาต , หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ อีกทั้งยังจะทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบ ที่เรียกว่า Neuropathic ที่ทำให้ขาชา , กล้ามเนื้ออ่อนแรง และประสาทอัตโนมัติเสื่อมได้
หากมีอาการเหล่านี้ บวกกับพฤติกรรมในการทานอาหารที่ไม่ค่อยระวังเรื่องแป้ง และน้ำตาล คุณอาจสันนิษฐานได้ว่ากำลังมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้สูง เพราะฉะนั้นควรรีบพบแพทย์เพื่ การตรวจที่ละเอียด และทำการรักษาต่อไปค่ะ
โรคเบาหวาน วินิจฉัยอย่างไรบ้าง ?
ในเบื้องต้น เมื่อเราเดินทางไปพบแพทย์ แพทย์ก็จะเริ่มต้นสอบถามอาการ ประวัติการเจ็บป่วย รวมไปถึงคนในครอบครัว จากนั้นก็จะมีการตรวจร่างกาย ตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลก็จะมีอยู่หลายวิธี ดังนี้
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย