จากข่าวกรมสรรพสามิตออกมายืนยันว่าไม่เคยจัดเก็บภาษีผ้าอนามัย 40% มีเพียงเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เหมือนสินค้าทั่วไปเท่านั้น เพราะผ้าอนามัยเป็น 1 ในรายชื่อสินค้าควบคุม [
อ่านข่าว สรรพสามิต สวนกลับ ! ยันไม่เคยขูดภาษีผ้าอนามัย-เก็บแค่ VAT 7% ซัดใครเชื่อก็บ้า]
ทำให้หลายคนอยากรู้ต่อไปอีกว่า สินค้าควบคุมคืออะไร แล้วนอกจากผ้าอนามัยยังมีอะไรอีกบ้างที่ถูกจัดอยู่ในหมวดสินค้าควบคุม วันนี้เรามีข้อมูลมาบอกต่อกัน
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ได้ระบุให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) สามารถกำหนดสินค้าหรือบริการควบคุมได้ เพื่อป้องกันการกำหนดราคาซื้อ-ขายที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
ทั้งนี้ กกร. มีหน้าที่หลัก ๆ ในการกำหนดราคาซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการควบคุม เพื่อให้ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าได้ในราคาไม่ต่ำกว่าราคาที่กำหนด หรือให้ผู้ขายสามารถขายสินค้าในราคาที่ไม่สูงกว่าราคาที่กำหนด หรืออาจตรึงราคาไว้ในราคาใดราคาหนึ่งก็ได้ตามสถานการณ์ในช่วงนั้น รวมถึงสั่งให้จำหน่ายสินค้าหรือบริการควบคุมตามปริมาณและราคาที่กําหนด พร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันการกักตุนสินค้าควบคุม
อย่างไรก็ตาม กกร. ยังสามารถทบทวนรายการสินค้าและบริการควบคุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาสินค้าตามความเป็นจริงในปัจจุบัน ดังนั้น ประเภทของสินค้าและบริการควบคุมจะมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี
หลักเกณฑ์พิจารณาสินค้าควบคุม
คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดให้เป็นสินค้าควบคุม ดังนี้
- เป็นสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพ
- เป็นสินค้าที่ใช้เป็นปัจจัยการผลิตต่อเนื่อง
- โครงสร้างตลาดมีผู้ผลิตหรือผู้ขายน้อยราย สภาพตลาดไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร
- เป็นสินค้าที่มีเทคนิคการผลิตและการลงทุนสูง ส่งผลให้ผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ค่อนข้างยาก
- เป็นสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวด้านราคาบ่อยครั้งหรือขึ้นผิดปกติ และปริมาณขาดแคลนในบางครั้ง
- เป็นสินค้าที่มีความเชื่อมโยงและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาในตลาดโลกมาก
รายชื่อสินค้าและบริการควบคุม ปี 2562
จากประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 53 พ.ศ. 2562 เรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุม ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้มีสินค้าและบริการควบคุม จำนวน 52 รายการ จำแนกเป็น 46 สินค้า 6 บริการ โดยแบ่งเป็น 10 หมวดสินค้า และ 1 หมวดบริการ ดังนี้
1. กระดาษทำลูกฟูก กระดาษเหนียว
2. กระดาษพิมพ์และเขียน
3. ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์
4. รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุก
5. เครื่องสูบน้ำ
6. ปุ๋ย
7. ยาป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือโรคพืช
8. รถเกี่ยวข้าว
9. รถไถนา
10. หัวอาหารสัตว์ อาหารสัตว์
11. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
12. น้ำมันเชื้อเพลิง
หมวดยารักษาโรคและเวชภัณฑ์
13. ยารักษาโรค
14. เวชภัณฑ์เกี่ยวกับการรักษาโรค
15. ท่อพีวีซี
16. ปูนซีเมนต์
17. สายไฟฟ้า
18. เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น
19. ข้าวเปลือก ข้าวสาร
20. ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์
21. ข้าวโพด
22. ต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์
23. ผลปาล์มน้ำมัน
24. มะพร้าวผลแก่ และผลิตภัณฑ์
25. ยางพารา ได้แก่ น้ำยางสด ยางก้อน เศษยาง น้ำยางข้น ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ
26. กระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า
27. แชมพู
28. น้ำยาปรับผ้านุ่ม
29. ผงซักฟอก น้ำยาซักฟอก
30. ผลิตภัณฑ์ล้างจาน
31. ผ้าอนามัย
32. ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเด็กและผู้ใหญ่
33. สบู่ก้อน สบู่เหลว
34. กระเทียม
35. ไข่ไก่
36. ทุเรียน
37. นมผง ผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว ไม่รวมถึงนมเปรี้ยว
38. น้ำมัน และไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ทั้งที่บริโภคได้หรือไม่ได้
39. แป้งสาลี
40. มังคุด
41. ลำไย
42. สุกร เนื้อสุกร
43. หอมหัวใหญ่
44. อาหารกึ่งสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก
45. อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
46. เครื่องแบบนักเรียน
47. การให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า
48. บริการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์
49. บริการทางการเกษตร
50. บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาโรค
51. บริการรับชำระเงิน ณ จุดบริการ
52. บริการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้า
ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ประกาศวันที่ราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่จะมีการออกประกาศใหม่
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
กรมการค้าภายใน, ราชกิจจานุเบกษา, ราชกิจจานุเบกษา