หน่อไม้ เป็นหน่ออ่อนของไผ่ที่แตกจากเหง้าใต้ดินมีลักษณะสีเหลืองอ่อน รสสัมผัสกรุบกรอบ ราคาย่อมเยา สามารถนำมาปรุงอาหารได้อย่างหลากหลาย ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด และยังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ไม่ใช่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น
หน่อไม้ อันตรายจริงหรือ ?
หน่อไม้ มีทั้งประโยชน์ และโทษ หากเลือกกินอย่างเหมาะสม ก็สามารถให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้ แต่หากินหน่อไม้ไม่ถูกวิธี ไม่มีความระมัดระวังในการกิน ก็อาจเป็นโทษต่อร่างกายได้จริง ๆ
หน่อไม้ที่เราบริโภคกัน มีอยู่หลายประเภท
หน่อไม้ดิบ
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า หน่อไม้ดิบหรือหน่อไม้ที่ยังปรุงไม่สุก อาจได้รับพิษจากสารไซยาไนด์ ซึ่งมีอยู่ในหน่อไม้ตามธรรมชาติ และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อย สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมาก สารไซยาไนด์จะจับตัวกับสารในเม็ดเลือดแดง (hemoglobin) แทนที่ออกซิเจนทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน หมดสติและอาจทำให้เสียชีวิตได้
ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคหน่อไม้ดิบ นายมงคล เจนจิตติกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กล่าวว่า การบริโภคหน่อไม้ที่ต้มสุกจะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการได้รับสารไซยาไนด์ แต่หากอุณหภูมิและระยะเวลาในการต้มไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถลดปริมาณสารชนิดนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนที่จะนำหน่อไม้ไปบริโภคควรปรุงให้สุก ด้วยการต้มหน่อไม้ในน้ำเดือดนานอย่างน้อย 10 นาที ซึ่งสามารถลดปริมาณสารไซยาไนด์ลงได้ถึงร้อยละ 90.5
หน่อไม้ดอง
หน่อไม้เป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่นิยมนำมาหมักดองเพื่อการเก็บรักษาอาหารเอาไว้ให้ได้นานยิ่งขึ้น โดยมักทำการดองเอาไว้ในปิ๊บเป็นเวลาหลายเดือน หากขั้นตอนการหมักดองไม่สะอาดเพียงพอ จะเกิดเป็นเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum เจริญเติบโตอยู่ในหน่อไม้ที่อยู่ในปี๊บ หากทำมาปรุงอาหารด้วยความร้อนที่ไม่เพียงพอ อาจได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียน ท้องเสีย หากสารพิษโบทูลินเริ่มซึมจากระบบทางเดินอาหาร เข้าสู่กระแสเลือดและระบบประสาท อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อหนังตา ลูกตา ใบหน้า การพูดการกลืนผิดปกติ กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง หายใจไม่ออก และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
นอกจากนี้ หน่อไม้ที่สะอาด และปรุงสุกด้วยความร้อน ปลอดภัยในการบริโภคก็จริง แต่ยังมีคนบางประเภทที่ไม่ควรบริโภคหน่อไม้มากจนเกินไป ได้แก่
หน่อไม้ ปลอดภัยกว่าที่คิด
แม้ว่าจะมีผู้ป่วยบางกลุ่มที่ไม่ควรบริโภคหน่อไม้ แต่ในคนที่มีสุขภาพปกติดี รวมถึงผู้ป่วยเหล่านี้ สามารถรับประทานหน่อไม้ได้
ข้อมูลทางโภชนาการของหน่อไม้
คุณค่าทางสารอาหารของหน่อไม้ ปริมาณ 100 กรัม
แคลอรี (kcal) 27
ไขมันทั้งหมด 0.3 g
ไขมันอิ่มตัว 0.1 g
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.1 g
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว 0 g
คอเลสเตอรอล 0 mg
โซเดียม 4 mg
โพแทสเซียม 533 mg
คาร์โบไฮเดรต 5 g
เส้นใยอาหาร 2.2 g
น้ำตาล 3 g
โปรตีน 2.6 g
วิตามินเอ 20 IU
วิตามินซี 4 mg
แคลเซียม 13 mg
เหล็ก 0.5 mg
วิตามินดี 0 IU
วิตามินบี 6 0.2 mg
วิตามินบี 12 0 µg
แมกนีเซียม 3 mg
ประโยชน์ของหน่อไม้
หน่อไม้มีกากใยอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ ลดความเสี่ยงอาการท้องผูก นอกจากนี้ยังมีแคลอรี่ต่ำ จึงสามารถรับประทานได้ และเหมาะสำหรับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีโปรตีน โพแทสเซียม วิตามินเอ และแคลเซียมอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ควรตระหนักว่า หน่อไม้ที่กินแล้วมีประโยชน์ ต้องเป็นหน่อไม้ปรุงสุก หน่อไม้ดอง (ที่สะอาด) มีคุณค่าทางสารอาหารต่ำกว่า แต่ไม่ได้มีอันตรายต่อร่างกายมากอย่างที่กลัวกัน และไม่ว่าอย่างไรก็ไม่ควรรับประทานหน่อไม้มากเกินไป ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และเลือกรับประทานอาหารอย่างหลากหลายจะดีกว่า