ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอาหารสตรีทฟู้ด หรืออาหารที่จำหน่ายอยู่ตามร้านค้าริมถนนที่อร่อย ดี และหลากหลายที่สุดในโลก เสน่ห์ของอาหารสตรีทฟู้ดคือราคาที่ย่อมเยา อาหารอันหลากหลายที่ปรุงสดใหม่ เดินไปกินไป หรือจะซื้อกลับบ้านก็ได้ง่ายแสนง่าย
แต่อาหารสตรีทฟู้ดในไทยอาจจะไม่ได้ถูกสุขอนามัยไปทุกร้าน เพราะจากการเก็บข้อมูลของสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีจากกลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษา ได้แก่ ผู้บริโภค ผู้จำหน่าย และผู้ใช้กฎหมาย โดยศึกษาจากอาหารริมบาทวิถี จำนวน 50 ตัวอย่าง ผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและคุณภาพทางจุลชีววิทยา ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์เกินค่ามาตรฐานถึง 21 ตัวอย่าง (42%) โดยเชื้อที่ตรวจพบส่วนใหญ่คือ เชื้ออีโคไล (E.coli) จำนวนถึง 19 ตัวอย่าง พบอาหารที่มีเชื้ออีโคไลมากที่สุด 5 เมนู ได้แก่
ทำไมอาหารสตรีทฟู้ดถึงเจอเชื้ออีโคไล ?
อาหารที่เสี่ยงพบเชื้ออีโคไล คืออาหารที่ไม่ผ่านความร้อน จึงทำให้เชื้ออีโคไลเจริญเติบโตท่ามกลางภูมิอากาศร้อนชื้นในบ้านเราได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ควรระมัดระวัง นั่นคือความสะอาดของวัตถุดิบ อุปกรณ์ในการทำอาหาร อุปกรณ์ในการใส่อาหาร รวมไปถึงสถานที่ในการประกอบอาหาร และโต๊ะเก้าอี้ในร้านต่าง ๆ นอกจากนี้การประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนไม่มากพอ การเก็บรักษาวัตถุดิบไม่ดีพอ ก็อาจมีส่วนทำให้เชื้ออีโคไลเจริญเติบโตระหว่างการเตรียมอาหารได้เช่นกัน
เชื้ออีโคไล อันตรายแค่ไหน ?
เชื้ออีโคไล (E.coli) เป็นเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร และเครื่องดื่ม โดยเชื้ออีโคไลมีหลากหลายสายพันธุ์ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายของเราก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ แต่อาการที่พบได้บ่อย และสังเกตได้ชัดเจน คือ อาการท้องร่วง จากการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรคนี้เข้าไปในร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ เป็นต้น
หลีกเลี่ยงเชื้ออีโคไลในอาหารสตรีทฟู้ดได้อย่างไร ?