ข่าวสาร/สาระน่ารู้

News&Knowledge

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รู้จักกันดีพอหรือยัง ใครต้องเสียเท่าไหร่กันบ้าง?

2,152 view(s)
23/12/2019
รายละเอียด

คำถาม : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร?

  • คำตอบ : เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องเสียภาษีที่กฎหมายกำหนดไว้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คำถาม : เริ่มจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อไหร่?

  • คำตอบ : ในปี 2563 กระทรวงมหาดไทยประกาศขยายระยะเวลาการดำเนินการเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฯ เช่น การเลื่อนกำหนดจ่ายภาษีจากเดือนเมษายน 2563 เป็นเดือนสิงหาคม 2563 เพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นมีเวลาทำงานมากขึ้น เพราะปัจจุบันกฎหมายลูกอีก 8 ฉบับยังไม่เรียบร้อย

คำถาม : ประเภทที่ดินที่ต้องเก็บภาษี?

  • คำตอบ : ที่ดินมี 4 ประเภท ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่นๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรม-ที่อยู่อาศัย (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และรกร้างว่างเปล่า

sanook_thumbnail_1200x720(55

คำถาม : ที่ดินเกษตรกรรมแบ่งเก็บภาษีอย่างไร?

  • คำตอบ : มูลค่าที่ดิน 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% หรือเสียภาษีล้านละ 100 บาทต่อปี

                      มูลค่าที่ดิน 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% หรือเสียภาษีล้านละ 300 บาทต่อปี

                      มูลค่าที่ดิน 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% หรือเสียภาษีล้านละ 500 บาทต่อปี

                      มูลค่าที่ดิน 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07% หรือเสียภาษีล้านละ 700 บาทต่อปี

                      มูลค่าที่ดิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1% หรือเสียภาษีล้านละ 1,000 บาทต่อปี

คำถาม : มีข้อยกเว้นสำหรับที่ดินเกษตรกรรมของบุคคลธรรมดาหรือเปล่า?

  • คำตอบ : มี คือ ไม่ต้องเสียภาษีใน 3 ปี แรก (ปี 2563-2565) และ ปีที่ 4 เป็นต้นไป (2556) ได้รับการยกเว้นภาษีในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาทเป็นการถาวร

คำถาม : ภาษีบ้าน-คอนโด เก็บกลุ่มไหน?

  • คำตอบ : เก็บภาษีในกลุ่มคนที่มีบ้านมากกว่า 1 หลัง โดยจะยกเว้นคนมีบ้านหลักแรกเท่านั้น

sanook_thumbnail_1200x720(56

คำถาม : ประเภทที่อยู่อาศัยเป็นเจ้าของที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (บ้าน+ที่ดิน) เก็บภาษีอย่างไร?

  • คำตอบ : บ้านหลังหลักมีมูลค่า 10 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ทั้งในกลุ่มบ้าน และบ้าน+ที่ดิน (ถ้าเป็นบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไปเสียภาษี 0.02% เท่ากับ 200 บาทต่อปี

                      บ้านหลังหลักมีมูลค่า 10-50 ล้านบาท บ้าน+ที่ดิน จะได้รับการยกเว้น แต่เฉพาะตัวบ้าน อัตราภาษี 0.02% หรือล้านละ 200 บาท (ส่วนบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไปเสียภาษี 0.02%)

                      บ้านหลังหลักมูลค่า 50-75 ล้านบาท ตัวบ้าน, บ้าน+ที่ดิน รวมถึงบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป อัตราภาษี 0.03% หรือล้านละ 300 บาท

 

                      บ้านหลังหลักมูลค่า 75-100 ล้านบาท ตัวบ้าน, บ้าน+ที่ดิน รวมถึงบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป อัตราภาษี 0.05% หรือล้านละ 500 บาท

                      บ้านหลังหลักมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป ตัวบ้าน, บ้าน+ที่ดิน รวมถึงบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป อัตราภาษี 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

คำถาม : กรณีไหนบ้างที่ไม่ต้องเสียภาษีบ้าน-ที่ดิน?

  • คำตอบ : บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน มีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคม 2563 และบ้านมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี กรณีเป็นเจ้าของเฉพาะบ้านอย่างเดียวมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี

*กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่บุคคลธรรมดามีชื่อเป็นเจ้าขจอง แต่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและไม่ได้ไปให้เช่า ถือเป็นบ้านหลังอื่นต้องเสียภาษีตามปกติ

 

sanook_thumbnail_1200x720(57

คำถาม : ประเภทที่ดินกลุ่มอื่นๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) เก็บภาษีอย่างไร?

  • คำตอบ : ที่ดินกลุ่มอื่นๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างเก็บภาษีในรูปแบบเดียวกัน ดังนี้

                      มูลค่า 0-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% หรือเสียภาษีล้านละ 3,000 บาท

                      มูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% หรือเสียภาษีล้านละ 4,000 บาท

                      มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% หรือเสียภาษีล้านละ 5,000 บาท

                      มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% หรือเสียภาษีล้านละ 6,000 บาท

                      มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7% หรือเสียภาษีล้านละ 7,000 บาท

*ภาษีที่รกร้างว่างเปล่าปรับเพิ่มในอัตรา 0.3% ทุก 3 ปี แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 3%

คำถาม : มีทรัพย์สินหรือที่ดินอื่นใดได้รับการยกเว้นภาษีอีกหรือไม่?

  • คำตอบ : ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษี คือ ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้หาผลประโยชน์ทรัพย์สินที่ใชเพื่อประโยชน์สาธารณะ (รัฐ/เอกชน), สหประชาชาติ สถานฑูต และทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดหมู่บ้านจัดสรร และนิคมอุตสาหกรรม

คำถาม : ในเมื่อภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้างเข้ามาแทนที่การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องถิ่นที่และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้เสียภาษีเดิมต้องทำอย่างไร?

  • คำตอบ : นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง บอกว่า การบรรเทาภาระภาษี ผู้ที่เคยเสียภาษีโรงรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่ และต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิมเนื่องจากกฎหมายนี้ จะได้บรรเทาภาระภาษีของส่วนต่างเมื่อเทียบกับภาษีที่เคยเสียในปี 2562 ดังนี้

                      ปีที่ 1: ภาษีเดิมปี 2562 + 25% ของส่วนต่าง

                      ปีที่ 2: ภาษีเดิมปี 2562 + 50% ของส่วนต่าง

                      ปีที่ 3: ภาษีเดิมปี 2562 + 75% ของส่วนต่าง

คำถาม : ผู้ที่เสียภาษีที่ดินควรดำเนินการทำอย่างไร และมีขั้นตอนหรือกระบวนการอะไรบ้าง?

  • คำตอบ : ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องเช็กบัญชีรายการที่ดินของตนเองให้ถูกต้อง หากไม่ถูกต้องสามารถยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้องได้ทันที, ตรวจสอบพื้นที่แบบประเมิน และชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด

คำถาม : จะประเมินมูลค่าที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ห้องชุดอย่างไร ใช้หลักเกณฑ์ใดประเมิน?

  • คำตอบ ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมธนารักษ์มาใช้ และสำหรับปี 2563 นี้ให้นำบัญชีราคาประเมินฯ ปี 2559 - 2562 มาใช้

คำถาม : เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ที่ไหน? 

  • คำตอบ เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.), กรุงเทพมหานคร, เมืองพัทยา (ไม่รวมองค์การบริหารส่วนจังหวัด) เพื่อนำไปใช้พัฒนาท้องถิ่น
Amwish live chat
Uploading...