น้ำมันไร้สารตะกั่ว ยังไงก็ยังอันตราย
แม้ประเทศไทยและทั่วโลกจะบังคับให้รถยนต์เบนซินใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของสารตะกั่วลดลงมาตั้งแต่ปี 2527 จนกลายมาเป็นน้ำมันไร้สารตะกั่วที่รู้จักกันในปัจจุบัน ซึ่งแม้จะทำให้มลพิษลดลง แต่ในส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว ก็ยังมีสารพิษชนิดอื่นอีกมากมาย ที่ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศอยู่ดี
คาร์บอนมอนอกไซด์ครึ่งโลกมาจากรถยนต์!
อากาศที่มีมลพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ลอยอยู่บนโลกใบหนึ่ง กว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51 เปอร์เซนต์ มาจากไอเสียที่ปล่อยออกมาจากรถยนต์ ซึ่งแม้ในช่วงเริ่มต้นมันจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตโดยตรง แต่หากมันสะสมอยู่ในร่างกายและกระแสเลือดเป็นปริมาณที่มากพอก็มีสิทธิ์จะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน
มลพิษจากรถยนต์ไม่ได้ออกจากท่อไอเสียอย่างเดียว
พูดถึงมลพิษหลายคนอาจจะคิดถึงเพียงแค่ควันไอเสีย ที่ถูกปล่อยออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์อย่างเดียวเท่านั้น ทว่าในความเป็นจริงแล้ว รถยนต์ 1 คัน ปล่อยไอเสียได้แทบจะทุกทิศทาง เพราะนอกจากท่อไอเสียแล้ว ยังมีไอระเหยที่ถูกปล่อยออกมาพร้อมไอน้ำมันจากบริเวณห้องเครื่อง ไอความร้อนจากเครื่องยนต์ รวมถึงผงฝุ่นคาร์บอนที่เกิดจากการเบรกที่ออกมาทางล้อทั้ง 4 ล้อ ก็ถือเป็นมลพิษทั้งสิ้น
เช็กระยะ ถ่ายน้ำมันเครื่อง ก็ช่วยลดมลพิษได้
คุณที่ใช้รถยนต์ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยลดมลพิษได้เช่นกัน เพียงแค่กันหมั่นตรวจสอบสมรรถนะของรถของคุณให้สมบูรณ์อยู่เสมอ อาทิ การนำรถเข้าเช็คระยะ และการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องนอกจากจะช่วยประหยัดเงินค่าซ่อมในระยะยาวแล้ว ก็ยังช่วยลดมลพิษที่ออกมาจากรถของคุณได้เช่นกัน
รถยุคใหม่ไร้มลพิษ แต่ควันพิษยังเพิ่มขึ้น
แม้ปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีใหม่ที่ผลิตรถยนต์ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริด รถยนต์พลังงานทางเลือก ซึ่งดีกว่าในยุค 20 ปีก่อนมากมาย แต่การที่ปัจจุบันรถยนต์ทั่วโลกมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะรถที่ใช้เชื้อเพลิงเบนซินและดีเซลที่ยังเป็นรถยนต์ส่วนใหญ่ของโลก เท่ากับว่าด้วยปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้ก่อมลพิษเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง