ก่อนจะยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart TAX ขอแนะนำให้ลงทะเบียนในเว็บไซต์ epit.rd.go.th ของกรมสรรพากรก่อน เพราะต้องใช้รหัสผ่านจากเว็บไซต์มากรอกในแอปฯ ด้วย ซึ่งถ้าใครเคยลงทะเบียนไว้แล้ว ก็สามารถใช้รหัสผ่านเดียวกันไปกรอกในแอปฯ ได้เลย
แต่ถ้ายังไม่เคยลงทะเบียน ก็ลงทะเบียนก่อนเลย โดย...
- เข้าไปที่เว็บไซต์ epit.rd.go.th
- เลือกสัญชาติไทย จากนั้นกรอกข้อมูลต่าง ๆ
วิธียื่นภาษีผ่านแอปฯ RD Smart TAX
1. โหลดแอปพลิเคชัน RD Smart TAX
- ระบบ iOS
- ระบบ Android
2. เปิดแอปพลิเคชัน RD Smart TAX แล้วเลือกภาษา
3. จะเข้ามาที่หน้าข่าวสรรพากร
กรณีจะยื่นแบบภาษีให้เลือก "ยื่นแบบออนไลน์" ที่แท็บด้านล่าง
4. เข้ามาที่หน้า "ยื่นแบบออนไลน์" ให้เรากรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน และรหัสผ่านที่ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซต์กรมสรรพากร
5. หลังจากกรอกรหัสเรียบร้อย จะมาที่หน้า "ข้อมูลผู้ใช้" ซึ่งจะมีส่วนข้อมูลทั่วไป, ที่อยู่, ข้อมูลเพื่อการยื่นภาษี, ข้อมูลเพื่อลดหย่อนภาษี ให้เรากรอกรายละเอียดของตัวเองลงไป ซึ่งหากใครเคยยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์เมื่อปีก่อน ๆ ข้อมูลการลดหย่อนภาษีของเราก็จะปรากฏในแอปฯ ให้ด้วยเลย ไม่ต้องเสียเวลากรอกอีก
- หากมีรายการลดหย่อนภาษีอื่น ๆ ให้กดเลือก "ประสงค์จัดเก็บรายการก่อนยื่นภาษี"
7. จะไปที่หน้า "ยื่นภาษี" ให้เราบันทึกเงินได้, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรผู้จ่ายเงินได้ ซึ่งก็คือบริษัทที่จ่ายเงินเดือนให้เรานั่นเอง จากนั้นกด "ต่อไป"
8. จะไปที่หน้า "บันทึกเงินได้ยกเว้น/ค่าลดหย่อน" ส่วนนี้ให้กรอกค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่เรามี
เช่น จ่ายสมทบประกันสังคมไป 9,000 บาท, ซื้อหนังสือ 2,000 บาท รวมทั้งเงินบริจาคอื่น ๆ เมื่อกรอกครบแล้วให้กด "ต่อไป"
9. จะไปที่หน้า "คำนวณภาษี" ระบบจะคำนวณให้ทันทีว่าเราชำระไว้เกิน หรือต้องชำระเพิ่ม
* กรณีต้องชำระเพิ่ม
ทั้งนี้ถ้าเราอยากรับแจ้งผลคืนภาษีผ่าน SMS ให้ระบุหมายเลขโทรศัพท์ของเราลงไป จากนั้นกด "ยื่นแบบ" และ "ยืนยันการยื่นแบบ" เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
หากเราชำระภาษีไว้ขาด จะต้องยื่นภาษีเพิ่มเติม แอปฯ ก็จะบอกให้เรารู้ว่ามีช่องทางชำระภาษีอย่างไรบ้าง โดยชำระได้ทางเอทีเอ็ม, เทเลแบงกิ้ง, อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง, โมบายแบงกิ้ง รวมทั้งเคาน์เตอร์บริการ
ทีนี้ถ้าเราอยากเช็กข้อมูลหรือตรวจสอบผลการคืนภาษีก็สามารถเช็กผ่านแอปฯ ได้เช่นกัน
ข้อดีของการยื่นภาษีผ่านแอปฯ
- สะดวก เหมาะกับคนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
- ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เข้าใจง่าย มือใหม่ทำได้
- สามารถขยายระยะเวลาการยื่นแบบออกไปได้อีก เช่น ในปีภาษี 2562 หากยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา จะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 แต่หากยื่นผ่านแอปฯ จะสามารถยื่นแบบได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2563 เช่นเดียวกับการยื่นภาษีทางเว็บไซต์กรมสรรพากร
ข้อจำกัดของการยื่นภาษีผ่านแอปฯ
เนื่องจากการยื่นภาษีผ่านแอปฯ ออกแบบมาให้เราใช้เองได้ง่าย ๆ ลดขั้นตอนความยุ่งยากไปพอสมควร ดังนั้น ในคนที่มีรายได้จากหลายแหล่ง หรือมีรายละเอียดการหักลดหย่อนภาษีบางประการ จะมีข้อกำจัดที่ไม่สามารถยื่นภาษีผ่านแอปฯ ได้ ก็คือ
- แอปฯ นี้ใช้ยื่นได้เฉพาะ ภ.ง.ด.91 เท่านั้นค่ะ คือต้องมีรายได้จากเงินเดือน โบนัส เพียงอย่างเดียว ตามมาตรา 40 (1) แต่หากเรามีรายได้จากช่องทางอื่น ๆ เช่น เงินปันผลกองทุน เครดิตภาษีหุ้น ค่าจ้างจากการหารายได้พิเศษ ค่าประกอบวิชาชีพ ค่าลิขสิทธิ์ ค่านักแสดง ฯลฯ ซึ่งต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะไม่สามารถยื่นแบบผ่านแอปฯ ได้ ต้องยื่นภาษีด้วยวิธีอื่นแทน
- คู่สมรสที่มีเงินได้และต้องการนำเงินได้มารวมคำนวณภาษี ไม่สามารถยื่นแบบผ่านแอปฯ ได้
- คนที่ต้องการนำเงินได้ที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานแยกคำนวณภาษีในใบแนบ ไม่สามารถยื่นแบบผ่านแอปฯ ได้
- ผู้ที่ใช้สิทธิอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ ไม่สามารถยื่นแบบผ่านแอปฯ ได้
- ถ้าเป็นกรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่ม เราจะต้องจ่ายเต็มจำนวนครั้งเดียว และต้องชำระภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบ ไม่สามารถผ่อนชำระ 3 งวดได้เหมือนกับการยื่นแบบที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือผ่านทางออนไลน์
ดังนั้นใครที่มีรายได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง แต่เพียงอย่างเดียว และไม่ได้มีข้อจำกัดอย่างที่บอกไป จะใช้ช่องทางนี้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและขอคืนภาษี ก็ถือว่าสะดวกทีเดียว หากมีข้อสงสัยก็ลองสอบถาม Call Center ได้ที่หมายเลข 1161
ส่วนใครที่ไม่สามารถยื่นภาษีผ่านทางแอปฯ RD Smart Tax ได้ ก็สามารถยื่นภาษีทางออนไลน์แทนได้ค่ะ ตามขั้นตอนนี้เลย