โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้งานหนักเกินไป ยกของหนักบ่อยๆ หรือเกิดจากอุบัติเหตุโรคนี้มักเกิดกับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และ กลุ่มคนหนุ่มสาวที่เล่นกีฬาแล้วออกแรงหลังมากจนเกินไปหรือใช้หลังผิดท่า เช่น กอล์ฟ บางรายมีอาการชาตั้งแต่เอวร้าวลงขา ปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีดังนี้
มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก็คือ คนอ้วนลงพุง เพราะน้ำหนักที่มากจนเกินไปจะทำให้หลังแอ่นและกระดูกสันหลังส่วนล่างต้องรับน้ำหนักตลอดเวลา จึงทำให้มีโอกาสกระดูกเสื่อมและแตกปลิ้นได้ง่ายดังนั้นจึงควรลดน้ำหนักตัวลงอย่าให้อ้วนจนเกินไป
การแบกของหนัก
คนที่ต้องทำงานยกของหนักมากๆ ยกของไม่ถูกท่า ต้องระวังให้ดีๆเพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกยุบตัวลงจนอาจกลายเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ การทำงานยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้องหรือมีน้ำหนักมากจนเกินไป โดยใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขาการจะทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมากเกินไป จนกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดหมอนรองกระดูกเสื่อม ดังนั้นจึงควรใช้ท่าย่อเข่าแทนการก้มตัวเพราะอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หลังได้
นั่งนานจนเกินไป
ผู้ที่ทำงานออฟฟิศต้องทำงานนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถเลย หรือการนั่งท่าที่ไม่ถูกต้องก็ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เช่น นั่งหลังค่อมนานๆ การยืนเป็นระยะเวลานานๆ การก้มเก็บของโดยไม่ระวัง ดังนั้นควรปรับท่านั่งให้หลังตรงหรือเดินตัวตรง หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ อย่านั่งนานเกินไปควรลุกขึ้นยืนเดินไปมาบ้าง หากต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานจริงๆ ควรปรับท่านั่งให้ถูกต้อง
การสูบบุหรี่จัด
การสูบบุหรี่จะทำให้กระดูกพรุนได้ง่าย เพราะการสูบบุหรี่ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงกระดูกสันหลังได้น้อย กระดูกจึงสูญเสียความยืดหยุ่นและเสื่อมเร็วกว่าปกติ ทำให้มีความเสี่ยงเป็นหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนตัวหรือหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นค่อนข้างมาก
ไม่ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายก็เป็นสิ่งสำคัญ หากทำงานมากเกินไปจนไม่ออกกำลังกายเลยก็จะทำให้กล้ามเนื้อลีบและฝ่อไป เกิดการบาดเจ็บต่อหมอนรองกระดูกได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงควรออกกำลังกายโดยบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังแข็งแรง แต่ก็ไม่ควรหักโหมจนเกินไป
อายุมากขึ้น
โรคนี้มักพบบ่อยในผู้ที่อายุ 30-40 ปี ในวัยหนุ่มสาวหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีองค์ประกอบของน้ำเป็นส่วนสำคัญ แล้วเมื่อเวลาผ่านไปอายุเพิ่มมากขึ้นน้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังก็จะค่อยๆลดลง จะส่งผลให้หมอนรองกระดูกขาดความยืดหยุ่นปริแตกได้ง่าย และกระดูกสันหลังหลวมมากขึ้นอีกด้วย
กรรมพันธุ์
ในผู้ป่วยบางรายเป็นโรคนี้จากการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม เช่น ถ้าพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าคนอื่น