เรื่องน่ารู้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกัน รักษา และเอาชนะได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้มีความเสี่ยงเนื่องจากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แนะนำให้นำอายุของคนในเครือญาติใกล้ชิดที่เป็นมะเร็งลบด้วย 10 จะเป็นอายุที่ควรเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เช่น หากพ่อเป็นมะเร็งตอนอายุ 40 ปี ลบออกด้วย 10 จะเหลือ 30 ดังนั้น ลูกควรเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เมื่อมีอายุ 30 ปี โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ เพราะถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ
อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่
หลายกรณีที่พบว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่แสดงอาการผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือบางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคลำไส้และทางเดินอาหารอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าไม่เป็นอันตราย เช่น ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง ท้องเสียสลับกับท้องผูก น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนเพลียอ่อนแรง ซีดจาง บางคนมีเลือดออกปนมาในอุจจาระ ปวดท้องเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย ซึ่งเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 2-4 แล้ว ดังนั้น หากพบว่ามีอาการผิดปกติกับระบบทางเดินอาหารนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไปควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยหาเสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง
ระยะของโรค
ระยะของโรค การเกิดโรคของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบ่งเป็น 4 ระยะคือ
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิคที่ทันสมัยผ่านทางกล้อง NBI (Narrow Band Image) EMR (Endoscopic Mucosal Resection) และ ESD (Endoscopic Submucosal Dissection) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแบบ MIS (Minimal Invasive surgery) เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ช่วยให้แพทย์สามารถตัดก้อนเนื้อขนาดใหญ่ออกจากลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหารได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการเปิดแผลที่หน้าท้อง สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ลดระยะเวลาการอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว กลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อน ปลอดภัย และที่สำคัญไม่มีแผลเป็นที่จะทำให้ต้องกังวลใจ
ข้อมูลที่น่าสนใจคือ 90% ของการตรวจพบมะเร็งสำไส้ใหญ่จะเริ่มจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก (polyp) ที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งติ่งเนื้อชนิด adenoma ถือว่าเป็นระยะก่อนมะเร็ง (pre-cancerous lesion) จะมีโอกาสดำเนินโรคในอนาคต โดยใช้เวลา 3-5 ปีก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง
ดังนั้นหากตรวจพบติ่งเนื้อขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร แนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 3-5 ปี ถ้าติ่งใหญ่กว่า 1 เซนติเมตรอาจตรวจทุก 1-3 ปี ส่วนผู้ที่ไม่พบติ่งเนื้อควรกลับมาตรวจอีกครั้งใน 5-10 ปี (แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลินอาจจำเป็นต้องเพิ่มความถี่ของการตรวจขึ้นอยู่กับภาวะร่างกายและปัจจัยการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ของแต่ละคน)
ขอบคุณที่มาจาก : https://smtvj.com/2Ae6JBW, นพ.ปฏิพัทธ์ ดุรงค์พงศ์เกษม อายุรแพทย์ด้านโรคระบบทางเดินอาหาร