อาหารเสริม และ ยาต่างกันอย่างไร?
อาหารเสริม คือ อาหารที่แพทย์ใช้ในการเสริมสร้างสภาพร่างกายของผู้รักษาให้แข็งแรง โดยมีสารอาหารและธาตุประกอบที่ผู้รับการรักษา จำเป็นต้องมีเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น มีผลกระทบด้านอื่นต่อร่างกายน้อย เช่น อาหารเสริมสำหรับเด็กที่ไม่แข็งแรง สตรีมีครรภ์ที่ต้องมีการบำรุงครรภ์ หรือผู้สูงอายุที่ต้องการอาหารเสริมเพื่อทดแทนส่วนที่ขาดหายไปและจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งโดยปกตินำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีการรับประทานเพียงอย่างเดียว มันจึงถูกเรียกว่าเป็นอาหาร
อาหารเสริมหรือวิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของเรา ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างปกติ โดยที่ร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินเหล่านี้ขึ้นได้เอง ในร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารหรืออาหารเสริมเข้าไป เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ อาหารเสริมไม่ใช่ยา เพราะอาหารเสริมไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของเซลล์ในร่างกายได้เหมือนยา แต่อาหารเสริมจะทำงานโดยการป้อนสิ่งที่เซลล์ต้องการอย่างเพียงพอในขณะนั้นๆ เพื่อทำให้เซลล์ของร่างกายสมบูรณ์ และทำงานได้ผลอย่างเต็มที่อันจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี แข็งแรง และป้องกันหรือต้านโรคต่างๆ
ด้วยความที่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมักมาในรูปแบบแคปซูล แบบอัดเม็ด แบบน้ำ และแบบผง ซึ่งมีความคล้ายกับยามาก ทำให้หลายคนเข้าใจผิดหรือสับสนว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคือยา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไม่ใช่ยา โดยยานั้นจะเป็นสารเคมีทางการแพทย์ที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย ใช้ในการรักษา บำบัด หรือบรรเทาโรคต่างๆ ให้หายหรือทุเลาลง ซึ่งมีทั้งยาที่สังเคราะห์จากสารเคมี และยาที่สังเคราะห์จากพืชสมุนไพร
อาหารเสริมคือสิ่งที่เราสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มเติมธาตุและสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองหรือได้รับจากอาหารไม่เพียงพอ อาหารเสริมยังแบ่งได้เป็นอีกหลายประเภทมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแร่ธาตุที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เอง แต่มีประโยชน์หรือมีความจำเป็นต่อร่างกายในช่วงเวลานั้นหรือในระยะยาว หรือวิตามินที่อาจหาได้จากพืชผักผลไม้ แต่วิตามินบางตัว บางชนิดโอกาสได้รับจากผลไม้บางประเภทก็เป็นได้ยากทั้งอาจสูญเสียไปจากการปรุงอาหาร เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงสกัดแร่ธาตุ สารอาหาร และวิตามิน ให้อยู่ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เพื่อสะดวกในการรับประทาน และเก็บรักษา เช่น ในรูปแบบอัดเม็ด แคปซูล หรือแบบของเหลว แต่เพราะบรรจุภัณฑ์ที่สกัดออกมาแล้วมีความคล้ายคลึงกับยารักษาโรค ทำให้คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าอาหารเสริมก็คือยาชนิดหนึ่ง
แล้ว “อาหารเสริม” คืออะไร
จริงๆ แล้วความหมายของคำว่า “อาหารเสริม” ในบัญญัติของเภสัชกรรมคือ อาหารจากธรรมชาติที่ทาน
เสริมเป็นพิเศษจากมื้ออาหารหลัก 3 มื้อ เพื่อดูแลสุขภาพในภาวะต่างๆ เช่น ให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ตามวัย
เสริมร่างกายจากการขาดสารอาหาร ช่วยรักษาโรคบางชนิด หรือช่วยเสริมให้สุขภาพดีทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดียังไง
แม้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อการรักษาโรคต่างๆ เหมือนยาทั่วไป แต่ประโยชน์ที่เราจะได้จากการทานเสริมคือ
อาหารเสริม คือ สารอาหารที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อสุขภาพร่างกาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และรวมถึงสารอาหารพวกช่วยย่อยเอนไซม์ และกากใยอาหาร โดยผลิตขึ้นในรูปของ ผงเกล็ด เม็ด แคปซูล และของเหลว เพื่อประโยชน์ในการรับประทาน อาหารเสริมนั้นมีประโยชน์ดังนี้คือ เพื่อเพิ่มเติม เพื่อป้องกัน หรือเพื่อบำบัดของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนจะมีความต้องการอาหารเสริมแตกต่างกัน เนื่องมาจากสาเหตุที่ต่างกันตามวิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู่ และสภาพร่างกาย
ยาคืออะไร
ยา คือ สารทางธรรมชาติหรือสารเคมีที่ผ่านกรรมวิธีแล้วนำมาใช้งานให้ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย ยาเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ ใช้ในการรักษาโรคที่เกิดแล้วให้หายเป็นการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือความผิดปกติของร่างกาย ยาหลายๆชนิดมีผลกระทบต้านฤทธิ์หรือทำลายสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ จนอาจทำให้สิ่งเหล่านี้ขาดความสมดุล เช่น ออกฤทธิ์ไปขับเกลือแร่บางชนิดออกจากร่างกาย ขัดขวางการย่อย และการดูดซึมสารอาหารในลำไส้เข้าร่างกาย ต้านฤทธิ์ของสารอาหารที่เป็นวิตามินและเกลือแร่ ยาบางอย่างทำลายวิตามิน และเกลือแร่ พูดง่าย ๆ ว่ายาเป็นการรักษาแบบเข้าเป้า ตรงจุด ซึ่งจะแตกต่างในวิธีการใช้และการจ่ายยาของแพทย์ เพื่อรักษา ป้องกัน และบรรเทาอาการของโรคต่างๆ
โดยปกติยาจะมีการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าและการตรวจสอบถึงผลกระทบที่จะตามมากับผู้ใช้อย่างละเอียด เพราะยาบางประเภทอาจจะรักษาอาการ หรือรักษาโรค ชนิดหนึ่งหาย แต่กลับไปทำลายระบบร่างกายส่วนอื่น และทำให้ต้องรักษาการป่วยของร่างกายที่เกิดจากการรับประทานยาตัวนั้นด้วย ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกไม่ดีกับความหมายของยา แต่ด้วยวิวัฒนาการทางแพทย์ในปัจจุบันนี้มนุษย์เราก็ยังแก้ไขผลพวงเหล่านี้ไม่ได้ และเหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างก็พยายามศึกษาค้นคว้ากันอยู่เรื่อยมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ผลพวงของยาจะนำมาพอเป็นสังเขป ดังนี้
1.ยาแอสไพริน ในปริมาณเพียงเล็กน้อย สามารถขับวิตามินซีออกจากร่างกายได้มาก โดยมีอัตราการขับออกจากร่างกายมากกว่าตามปกติถึง 3 เท่า ท่านผู้อ่านควรจะเดาออกว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ต้องรับประทานยาแอสไพรินเป็นประจำในห้วงระยะเวลานานๆ จะมีผลกับวิตามินซีในร่างกายอย่างไร และไม่เพียงเท่านี้ ยาแอสไพรินยังทำให้ร่างกายเกิดการขาดแคลนกรดโฟลิค ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ระบบการย่อยถูกรบกวน ทำให้มีผลหงอกเร็วและมีปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโต
2.ยาจำพวกสเตอรอยด์ (Steroid) เช่น คอร์ติโซน (Cortisone) เพร็ดนิโซน (Prednisone) อันเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายกับผู้ป่วยไขข้ออักเสบ ผู้ที่ใช้ยาประเภทนี้จัดเข้าลักษณะยาครอบจักรวาลทางการแพทย์พบว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาประเภทนี้จะทำให้สังกะสีในร่างกายต่ำลงถึง 42 เปอร์เซ็นต์ การที่ผู้ป่วยขาดเกลือแร่สังกะสีทำให้มีอาการไม่รู้รสอาหาร หวาน เปรี้ยว เค็ม อร่อย ไม่อร่อย และจมูกจะไม่ได้กลิ่น ตลอดจนความรู้สึกทางเพศจะหมดไปด้วย
3.ยาประเภทคุมกำเนิด เป็นฮอร์โมนสร้างขึ้นทางวิทยาศาสตร์ ป้องกันสตรีไม่ให้มีครรภ์ ซึ่งในขณะเดียวกันยาประเภทนี้จะไปต้านฤทธิ์โดยทำลายวิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด ได้แก่ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 วิตามินซี กรดโฟลิค และสังกะสี ผู้ป่วยที่มีอาการขาดเกลือแร่สังกะสีจะมีอาการเซื่องซึม มีความผิดปกติทางประสาท ร่างกายไม่เจริญเติบโต ฯลฯ
4.ยาประเภทกล่อมประสาท หรือระงับประสาท เช่น ฟิโนบาร์บ (Phenobarb) เซคอนอล (Seconol) เน็มบูทอล (Nembutal) บิวติซอล (Butisol) และอื่นๆ ส่วนมากจะใช้กับผู้ป่วยที่กระวนฤกระวายหรือนอนไม่หลับ ผู้ที่ใช้ยาเหล่านี้จะมีระดับเกลือแร่ในเลือดต่ำ ทำให้เกิดอาการกระดูกผุ (Osteoporosis) กล้ามเนื้อเป็นตะคริว เกิดการผิดปกติกับผิวหนัง การเจริญเติบโตช้า ปวดแสบปวดร้อนที่เหงือก เวียนศีรษะแบะระบบการย่อยถูกรบกวน
5.ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร เช่น เจลลูกซิล (Gelusil) วิงเจล (Wingel) โคแลนทิน (Kolantyn) อะลูดร๊อก (Aludrox) ครีมาลิน (Creamalin) เกวีสคอน (Gaviscon) ไมแลนต้า (Mylanta) ไดเจล (Di-gel) และโรเลด (Rolaids) เป็นต้น ต่างมีส่วนผสมของอะลูมินัม (Aluminum) ซึ่งจะไปรบกวนการเผาผลาญของเกลือแร่ แคลเซี่ยม และฟอสฟอรัส และผู้ป่วยที่รับประทานยาลดกรด (Antacid) จะขาดฟอสฟอรัส ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียหมดเรี่ยวแรง จะไม่มีความอยากรับประทานอาหาร กระดูกเปราะหักง่าย
6.ยาถ่าย ยาถ่ายชนิดน้ำมันแร่ (Mineral Oil) จะป้องกันการดูดซึมของวิตามินเอและวิตามินดีเข้าร่างกาย ส่วนยาถ่ายประเภทอื่นๆ ถ้ารับประทานแล้วถ่ายมากเกินไป จะทำให้มีผลล้างเกลือแร่โปแตสเซี่ยม ออกจากร่างกายอย่างมากมาย จะทำให้เกิดปัญหาโรคหัวใจ กล้ามเนื้อไม่มีแรงกระทบกระเทือนถึงระบบประสาทและระบบน้ำย่อย
7.ยาประเภทขับปัสสาวะ (Diuretic) แพทย์มักจะสั่งยาประเภทนี้ให้กับผู้ป่วยที่เป็นความดันสูงบ่อยๆ ยาประเภทนี้จะมีผลไปล้างโปแตสเซี่ยมจำนวนมากออกจากร่างกาย เช่นเดียวกับยาปฎิชีวนะตามที่ได้กล่าวมามาแล้วแต่ต้น
สรุปโดยรวม ในความหมายของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและยาจึงแตกต่างกัน เพราะอาหารเสริมคือสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายสำหรับสารอาหารบางอย่างที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง ไม่จำเป็นต้องใช้กับผู้ป่วย คนปกติสามารถรับประทานได้ ส่วนยาเป็นสิ่งที่สร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ เฉพาะประเภท ต้องมีผลการวิจัยและอนุญาตให้ใช้กับผู้ป่วยโดยเฉพาะนั่นเอง
สุดยอดผลิตภัณฑ์สำหรับคนรักสุขภาพและความงามโดยผู้เชี่ยวชาญ เราคัดเลือกสารอาหารจากธรรมชาติเน้นๆ ที่ดีที่สุดเพื่อคนไทยและคนที่คุณรัก
#Hello #Sojung #PhytoSC #เฮลโล #โซจัง #ไฟโตเอสซี #สุขภาพ #น้ำมันสนเข็มแดง #เกาหลี #ดูแลหลอดเลือด #redpine #korea #healthy #beauty #บำรุง #เพิ่มภูมิคุ้มกัน #ความงาม #ลดริ้วรอย #stemcell #vitamin #วิตามิน #hesperidin #ผิวสวย #ผิวขาว #ผิวใส #ออร่า #จากธรรมชาติ #วิตามินซีสูง #เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน #AMWISHUNITECH #EASYBUSINESS INVESTMENT (#ESB) #newNormalPlatform