ข่าวสาร/สาระน่ารู้

News&Knowledge

ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง...ไขข้อสงสัย Save กับ Safe ต่างกันยังไง

1,719 view(s)
11/02/2020
รายละเอียด

1. ควรส่งเสริมให้แสดงออกอารมณ์เศร้าให้เหมาะสม ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ไม่ควรปิดกั้นการแสดงออก อยากร้องไห้ให้ร้อง และพยายามพูดคุยทางด้านบวก สร้างแรงจูงใจ

2. มีสติ และ สังเกตอาการเสี่ยง ของตนเอง และ คนรอบข้าง เช่น หูแว่ว ความคิดอยากฆ่าตัวตาย ต้องรีบมาพบจิตแพทย์

3. คัดกรองดูแลกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจิตเวช

เน้นว่า "ต้องถามว่า ช่วงนี้มีความคิดอยากฆ่าตัวตายไหม" เพราะมีงานวิจัยแล้วว่า การถามช่วยลดความเสี่ยงได้มากกว่าการไม่ถาม

 

4. พยายามลดบทบาทของ "ตัวชี้นำทางลบ" (inducer) หรือตัวกระตุ้น เช่น พวกที่กรีดร้องโวยวายเสียงดังเกิน ให้จับแยกไปร้องในที่ ๆ เหมาะสม พวกที่เกิดอาการผีเข้า หรือ อาการชักเกร็งอื่นๆ ให้รีบพาแยกออกไปจากกลุ่มชนแล้วพามาพบจิตแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดอุปทานหมู่

5. อาจจะต้องลดการรับฟังข่าวสารแบบต่อเนื่อง เพื่อลดความเครียดที่จะสะสมเพิ่มขึ้น โดยเลือกรับฟังข่าวสารเฉพาะที่สำคัญ กำหนดเวลารับข่าวที่แน่ชัด

6. ในกรณีที่เครียดมาก อาจใช้วิถีทางตามความเชื่อทางศาสนา เช่น ทำบุญ ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ เป็นต้น

7. ใครที่มีโรคประจำตัว ต้องดูแลตัวเองตามเดิม อย่าลืมรับประทานยาประจำ กินอาหารตามเวลา และพักผ่อน

 

หากมีอาการเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 1323

Amwish live chat
Uploading...