ข่าวสาร/สาระน่ารู้

News&Knowledge

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และ ยาต่างกันอย่างไร?

2,177 view(s)
16/09/2020
รายละเอียด

อาหารเสริม และ ยาต่างกันอย่างไร?

            อาหารเสริม คือ อาหารที่แพทย์ใช้ในการเสริมสร้างสภาพร่างกายของผู้รักษาให้แข็งแรง โดยมีสารอาหารและธาตุประกอบที่ผู้รับการรักษา จำเป็นต้องมีเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น มีผลกระทบด้านอื่นต่อร่างกายน้อย เช่น อาหารเสริมสำหรับเด็กที่ไม่แข็งแรง สตรีมีครรภ์ที่ต้องมีการบำรุงครรภ์ หรือผู้สูงอายุที่ต้องการอาหารเสริมเพื่อทดแทนส่วนที่ขาดหายไปและจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งโดยปกตินำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีการรับประทานเพียงอย่างเดียว มันจึงถูกเรียกว่าเป็นอาหาร

อาหารเสริมหรือวิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของเรา ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างปกติ โดยที่ร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินเหล่านี้ขึ้นได้เอง ในร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารหรืออาหารเสริมเข้าไป เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ อาหารเสริมไม่ใช่ยา เพราะอาหารเสริมไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของเซลล์ในร่างกายได้เหมือนยา แต่อาหารเสริมจะทำงานโดยการป้อนสิ่งที่เซลล์ต้องการอย่างเพียงพอในขณะนั้นๆ เพื่อทำให้เซลล์ของร่างกายสมบูรณ์ และทำงานได้ผลอย่างเต็มที่อันจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี แข็งแรง และป้องกันหรือต้านโรคต่างๆ
ด้วยความที่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมักมาในรูปแบบแคปซูล แบบอัดเม็ด แบบน้ำ และแบบผง ซึ่งมีความคล้ายกับยามาก ทำให้หลายคนเข้าใจผิดหรือสับสนว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคือยา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไม่ใช่ยา โดยยานั้นจะเป็นสารเคมีทางการแพทย์ที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย ใช้ในการรักษา บำบัด หรือบรรเทาโรคต่างๆ ให้หายหรือทุเลาลง ซึ่งมีทั้งยาที่สังเคราะห์จากสารเคมี และยาที่สังเคราะห์จากพืชสมุนไพร

อาหารเสริมคือสิ่งที่เราสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มเติมธาตุและสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองหรือได้รับจากอาหารไม่เพียงพอ อาหารเสริมยังแบ่งได้เป็นอีกหลายประเภทมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแร่ธาตุที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เอง แต่มีประโยชน์หรือมีความจำเป็นต่อร่างกายในช่วงเวลานั้นหรือในระยะยาว หรือวิตามินที่อาจหาได้จากพืชผักผลไม้ แต่วิตามินบางตัว บางชนิดโอกาสได้รับจากผลไม้บางประเภทก็เป็นได้ยากทั้งอาจสูญเสียไปจากการปรุงอาหาร เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงสกัดแร่ธาตุ สารอาหาร และวิตามิน ให้อยู่ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เพื่อสะดวกในการรับประทาน และเก็บรักษา เช่น ในรูปแบบอัดเม็ด แคปซูล หรือแบบของเหลว แต่เพราะบรรจุภัณฑ์ที่สกัดออกมาแล้วมีความคล้ายคลึงกับยารักษาโรค ทำให้คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าอาหารเสริมก็คือยาชนิดหนึ่ง

แล้ว “อาหารเสริม” คืออะไร

จริงๆ แล้วความหมายของคำว่า “อาหารเสริม” ในบัญญัติของเภสัชกรรมคือ อาหารจากธรรมชาติที่ทาน

เสริมเป็นพิเศษจากมื้ออาหารหลัก 3 มื้อ เพื่อดูแลสุขภาพในภาวะต่างๆ เช่น ให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ตามวัย

 เสริมร่างกายจากการขาดสารอาหาร ช่วยรักษาโรคบางชนิด หรือช่วยเสริมให้สุขภาพดีทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดียังไง

แม้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อการรักษาโรคต่างๆ เหมือนยาทั่วไป แต่ประโยชน์ที่เราจะได้จากการทานเสริมคือ

  • เสริมการดูแลและบำรุงร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคในอนาคต
  • ทดแทนสารอาหารบางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
  • ช่วยชะลอการเสื่อมของกระบวนการต่างๆในร่างกาย ให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เสริมการดูแลผิวพรรณให้ดีได้จากภายในสู่ภายนอก

อาหารเสริม คือ สารอาหารที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อสุขภาพร่างกาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และรวมถึงสารอาหารพวกช่วยย่อยเอนไซม์ และกากใยอาหาร โดยผลิตขึ้นในรูปของ ผงเกล็ด เม็ด แคปซูล และของเหลว เพื่อประโยชน์ในการรับประทาน อาหารเสริมนั้นมีประโยชน์ดังนี้คือ เพื่อเพิ่มเติม เพื่อป้องกัน หรือเพื่อบำบัดของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนจะมีความต้องการอาหารเสริมแตกต่างกัน เนื่องมาจากสาเหตุที่ต่างกันตามวิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู่ และสภาพร่างกาย

ยาคืออะไร

ยา คือ สารทางธรรมชาติหรือสารเคมีที่ผ่านกรรมวิธีแล้วนำมาใช้งานให้ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย ยาเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ ใช้ในการรักษาโรคที่เกิดแล้วให้หายเป็นการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือความผิดปกติของร่างกาย  ยาหลายๆชนิดมีผลกระทบต้านฤทธิ์หรือทำลายสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ จนอาจทำให้สิ่งเหล่านี้ขาดความสมดุล เช่น ออกฤทธิ์ไปขับเกลือแร่บางชนิดออกจากร่างกาย ขัดขวางการย่อย และการดูดซึมสารอาหารในลำไส้เข้าร่างกาย ต้านฤทธิ์ของสารอาหารที่เป็นวิตามินและเกลือแร่ ยาบางอย่างทำลายวิตามิน และเกลือแร่  พูดง่าย ๆ ว่ายาเป็นการรักษาแบบเข้าเป้า ตรงจุด ซึ่งจะแตกต่างในวิธีการใช้และการจ่ายยาของแพทย์  เพื่อรักษา ป้องกัน และบรรเทาอาการของโรคต่างๆ

โดยปกติยาจะมีการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าและการตรวจสอบถึงผลกระทบที่จะตามมากับผู้ใช้อย่างละเอียด เพราะยาบางประเภทอาจจะรักษาอาการ หรือรักษาโรค ชนิดหนึ่งหาย แต่กลับไปทำลายระบบร่างกายส่วนอื่น และทำให้ต้องรักษาการป่วยของร่างกายที่เกิดจากการรับประทานยาตัวนั้นด้วย ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกไม่ดีกับความหมายของยา แต่ด้วยวิวัฒนาการทางแพทย์ในปัจจุบันนี้มนุษย์เราก็ยังแก้ไขผลพวงเหล่านี้ไม่ได้ และเหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างก็พยายามศึกษาค้นคว้ากันอยู่เรื่อยมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ผลพวงของยาจะนำมาพอเป็นสังเขป ดังนี้

1.ยาแอสไพริน ในปริมาณเพียงเล็กน้อย สามารถขับวิตามินซีออกจากร่างกายได้มาก โดยมีอัตราการขับออกจากร่างกายมากกว่าตามปกติถึง 3 เท่า ท่านผู้อ่านควรจะเดาออกว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ต้องรับประทานยาแอสไพรินเป็นประจำในห้วงระยะเวลานานๆ จะมีผลกับวิตามินซีในร่างกายอย่างไร และไม่เพียงเท่านี้ ยาแอสไพรินยังทำให้ร่างกายเกิดการขาดแคลนกรดโฟลิค ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ระบบการย่อยถูกรบกวน ทำให้มีผลหงอกเร็วและมีปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโต



2.ยาจำพวกสเตอรอยด์ (Steroid) เช่น คอร์ติโซน (Cortisone) เพร็ดนิโซน (Prednisone) อันเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายกับผู้ป่วยไขข้ออักเสบ ผู้ที่ใช้ยาประเภทนี้จัดเข้าลักษณะยาครอบจักรวาลทางการแพทย์พบว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาประเภทนี้จะทำให้สังกะสีในร่างกายต่ำลงถึง 42 เปอร์เซ็นต์ การที่ผู้ป่วยขาดเกลือแร่สังกะสีทำให้มีอาการไม่รู้รสอาหาร หวาน เปรี้ยว เค็ม อร่อย ไม่อร่อย และจมูกจะไม่ได้กลิ่น ตลอดจนความรู้สึกทางเพศจะหมดไปด้วย



3.ยาประเภทคุมกำเนิด เป็นฮอร์โมนสร้างขึ้นทางวิทยาศาสตร์ ป้องกันสตรีไม่ให้มีครรภ์ ซึ่งในขณะเดียวกันยาประเภทนี้จะไปต้านฤทธิ์โดยทำลายวิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด ได้แก่ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 วิตามินซี กรดโฟลิค และสังกะสี ผู้ป่วยที่มีอาการขาดเกลือแร่สังกะสีจะมีอาการเซื่องซึม มีความผิดปกติทางประสาท ร่างกายไม่เจริญเติบโต ฯลฯ

4.ยาประเภทกล่อมประสาท หรือระงับประสาท เช่น ฟิโนบาร์บ (Phenobarb) เซคอนอล (Seconol) เน็มบูทอล (Nembutal) บิวติซอล (Butisol) และอื่นๆ ส่วนมากจะใช้กับผู้ป่วยที่กระวนฤกระวายหรือนอนไม่หลับ ผู้ที่ใช้ยาเหล่านี้จะมีระดับเกลือแร่ในเลือดต่ำ ทำให้เกิดอาการกระดูกผุ (Osteoporosis) กล้ามเนื้อเป็นตะคริว เกิดการผิดปกติกับผิวหนัง การเจริญเติบโตช้า ปวดแสบปวดร้อนที่เหงือก เวียนศีรษะแบะระบบการย่อยถูกรบกวน



5.ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร เช่น เจลลูกซิล (Gelusil) วิงเจล (Wingel) โคแลนทิน (Kolantyn) อะลูดร๊อก (Aludrox) ครีมาลิน (Creamalin) เกวีสคอน (Gaviscon) ไมแลนต้า (Mylanta) ไดเจล (Di-gel) และโรเลด (Rolaids) เป็นต้น ต่างมีส่วนผสมของอะลูมินัม (Aluminum) ซึ่งจะไปรบกวนการเผาผลาญของเกลือแร่ แคลเซี่ยม และฟอสฟอรัส และผู้ป่วยที่รับประทานยาลดกรด (Antacid) จะขาดฟอสฟอรัส ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียหมดเรี่ยวแรง จะไม่มีความอยากรับประทานอาหาร กระดูกเปราะหักง่าย

6.ยาถ่าย ยาถ่ายชนิดน้ำมันแร่ (Mineral Oil) จะป้องกันการดูดซึมของวิตามินเอและวิตามินดีเข้าร่างกาย ส่วนยาถ่ายประเภทอื่นๆ ถ้ารับประทานแล้วถ่ายมากเกินไป จะทำให้มีผลล้างเกลือแร่โปแตสเซี่ยม ออกจากร่างกายอย่างมากมาย จะทำให้เกิดปัญหาโรคหัวใจ กล้ามเนื้อไม่มีแรงกระทบกระเทือนถึงระบบประสาทและระบบน้ำย่อย

7.ยาประเภทขับปัสสาวะ (Diuretic) แพทย์มักจะสั่งยาประเภทนี้ให้กับผู้ป่วยที่เป็นความดันสูงบ่อยๆ ยาประเภทนี้จะมีผลไปล้างโปแตสเซี่ยมจำนวนมากออกจากร่างกาย เช่นเดียวกับยาปฎิชีวนะตามที่ได้กล่าวมามาแล้วแต่ต้น

สรุปโดยรวม ในความหมายของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและยาจึงแตกต่างกัน เพราะอาหารเสริมคือสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายสำหรับสารอาหารบางอย่างที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง ไม่จำเป็นต้องใช้กับผู้ป่วย คนปกติสามารถรับประทานได้ ส่วนยาเป็นสิ่งที่สร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ เฉพาะประเภท ต้องมีผลการวิจัยและอนุญาตให้ใช้กับผู้ป่วยโดยเฉพาะนั่นเอง

 

สุดยอดผลิตภัณฑ์สำหรับคนรักสุขภาพและความงามโดยผู้เชี่ยวชาญ   เราคัดเลือกสารอาหารจากธรรมชาติเน้นๆ ที่ดีที่สุดเพื่อคนไทยและคนที่คุณรัก

#Hello #Sojung #PhytoSC  #เฮลโล #โซจัง #ไฟโตเอสซี   #สุขภาพ #น้ำมันสนเข็มแดง #เกาหลี #ดูแลหลอดเลือด #redpine #korea #healthy #beauty #บำรุง #เพิ่มภูมิคุ้มกัน  #ความงาม #ลดริ้วรอย #stemcell #vitamin #วิตามิน #hesperidin #ผิวสวย #ผิวขาว #ผิวใส #ออร่า  #จากธรรมชาติ #วิตามินซีสูง  #เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน #AMWISHUNITECH #EASYBUSINESS INVESTMENT (#ESB) #newNormalPlatform

 

Amwish live chat
Uploading...